ปีชง
ในปัจจุบันหากพูดถึงคำว่า "ปีชง" ทุกคนคงคุ้นหูไม่น้อย เนื่องจากหมอดูและนักพยากรหลายคนใช้คำนี้ในการอ้างถึงปีนักษัตรเกิดที่ไม่ดีในปีนั้นๆ แต่คงมีน้อยคนที่จะเข้าใจถึงความหมาย ความเป็นมาและความเชื่อของคำว่า
ปีชง
ปีชง ความหมายและความเชื่อ
สำหรับคำว่า ปีชง มาจากความเชื่อทางโหราศาสตร์ของจีน โดยเกี่ยวข้องกับองค์เทพไท้ส่วย หรือที่รู้จักกันดีในนาม “เทพเจ้าผู้คุ้มครองดวงชะตา” ซึ่งเป็นเทพผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ และมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในแต่ละปี
คำว่า “ไท้ส่วย” ยังมีความหมายถึงดาวพฤหัสบดีในภาษาจีนโบราณ ซึ่งดาวพฤหัสบดีนี้เองก็ถือว่าเป็นประธานของดาวศุภเคราะห์ ซึ่งหมายถึง คุณธรรม ความดี โชคลาภ ทรัพย์สิน ในความเชื่อทางโหราศาสตร์ของไทย ดังนั้นจึงมีการเชื่อมโยงว่าหากดาวพฤหัสบดีไม่ดีในความเชื่อทางโหราศาสตร์ไทย หรือหากปีนักษัตรใดปะทะหรือได้รับผลร้ายจากเทพ “ไท้ส่วย” จะทำให้ปีนั้นจะเป็นปีที่ได้รับผลไม่ดี หรือที่เราเรียกว่า
ปีชง นั่นเอง
สำหรับปีที่ได้รับผลไม่ดี จะมีอยู่ด้วยดัน 4 ปีได้แก่
ปีชง คือปีที่ได้รับผลเสียมากที่สุดหรือที่เราเรียกกันว่าชงโดยตรง
ปีคัก คือปีที่เป็นปีนักษัตรเดียวกับปีนั้นๆ
ปีเฮ้ง คือปีที่ได้รับผลกระทบในเรื่องเคราะห์กรรม
ปีผั่ว คือปีที่ได้รับผลกระทบในเรื่องสุขภาพ
โดยปีชงตรงๆจะได้รับผลกระทบมากที่สุด ส่วนปีคัก ปีเฮ้ง ปีผั่วซึ่งเรามักเรียกว่า
ปีชงร่วม จะได้รับผลกระทบน้อยกว่า
พุทธศักราช หรือ พ.ศ. คือ ช่วงกำหนดเวลาซึ่งกำหนดเอาปี ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานเป็นเบื้องต้นในการกำหนดนับ ซึ่งพุทธศักราชนี้ในประเทศไทยเริ่มนับเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว 1 ปี
คริสต์ศักราช หรือ ค.ศ. คือปีที่ใช้อ้างอิง โดยเริ่มนับจากปีที่เชื่อกันว่า พระเยซูเกิด และมีอายุครบหนึ่งปี เป็น ค.ศ. 1 โดยจำนวนปีคริสต์ศักราชจะห่างจากพุทธศักราช 543 ปี ใช้วันที่ 1 มกราคม ของทุกปีเป็นวันเปลี่ยนศักราช
ดูดวงที่เกี่ยวข้อง
คติโหราศาสตร์
คติโหราศาสตร์ถือเป็นสิ่งที่ยึดถือ หากท่านเชื่อเรื่องการพยากรณ์